วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สังคมพืชป่าดิบเขาในฮาลา-บาลา

พื้นที่ส่นใหญ่ในป่าฮาลา-บาลา ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป สภาพนิเวศของป่าบริเวณนี้จะเปลี่ยนเป็นอีกลักษณะโดยเฉพาะ เนื่องจากภูมิอากาศเปลี่ยนไป อากาศเย็นลงมาก บางครั้งอุณหภูมิลดลงระหว่าง 0 - 15 องศาเซลเซียส และมีเมฆหมอกตลอดปี ลำต้นไม้ใหญ่มีพืชอิงอาศัยจำพวก เฟิน มอส และไลเคนเกาะอยู่หนาแน่น สังคมพืชแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. สังคมพืชในพื้นที่ที่มีระดับความสูง 1,000 - 1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ไม้ต้นชั้นบนส่วนใหญ่มีความสูงไม่เกิน 30 เมตร ประกอบด้วย ไม้วงศ์ก่อ วงศ์ชาและมักมีหมากซี่หวีขึ้นเป็นดงใหญ่ เรียกสังคมนี้ว่า สังคมพืชวงศ์ก่อและโป๊ยกั๊ก เนื่องจากมีไม้วงศ์ก่อและโป๊ยกั๊กมาก

โป๊ยกั๊กป่า ( Illicium tenuifolium)
วงศ์ ILLICACEAE


2. สังคมพืชในพื้นที่ระดับความสูงกว่า 1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางชึ้นไป ไม้ต้นส่วนใหญ่มักแคระแกรน ลำต้นมักบิดงอ สูงไม่เกิน 10 เมตร ประกอบด้วย สนสามพันปี พญาไม้ พืชในวงศ์อบเชยและ พืชในวงศ์กุหลาบ เช่น ช่อไข่มุก และกุหลาบมลายู ขึ้นอยู่หนาแน่น จึงเรียกสังคมพืชชนิดนี้ว่า สังคมพืชวงศ์พญาไม้ ,กุหลาบป่าและอบเชย



พญาไม้ (Podocarpus nerrifolius)

วงศ์ ( Podocarpaceae)

สนสามพันปี (Dacrydium elatum)

วงศ์ (Podocarpaceae)


บัวแฉกใบมน (Cheiropleuria bicuspis)

วงศ์ Cheiropleuriaceae

บัวแฉก (Dipteris conjugate)

วงศ์ (Dipteridaceae)

ไม่มีความคิดเห็น: